วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จุดประกายความคิด พัฒนาชีวตด้วยวิทยาศาสตร์


ผู้คนในสมัยก่อนนั้น ...ใครเล่าจะคิดว่าชีวิตในประจำวันในแต่ละวันของเรานี้จะมีเครื่องอำนวยความสะดวกมากถึงเพียงนี้....หากคนสมัยก่อนนั้นไม่มีการจินตนาการถึงสิ่งต่างๆ  ไม่มีการตั้งสมมุติฐาน ตั้งข้อสงสัย  พวกเราคนรุ่นหลังก็คงจะไม่มีทฏษฎี  ความรู้ต่างๆเพื่อมาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงที่สุดแก่มวลมนุษยชาติได้อย่างเต็มที่และเต็มกำลังความสามารถ รวมทั้งเกิดค้นพบแร่ธาตุ สารเคมี หรือแม้แต่กฎ  ความเป็นไปของโลกเราก็ตาม
               และได้พบเห็นบุคคลตัวอย่างมากมายและที่จะยกให้ดูหลายบุคคล เช่นว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ที่ค้นพบทวีปอเมริกา และโคลัมบัสมีความเชื่อว่าโลกนั้นมีรูปร่างเป็นทรงกลม และเราสามารถไปถึงตะวันออกไกล โดยการเดินเรือไปทางทิศตะวันตก ซึ่งความเชื่อนี้เป็นที่ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน แต่ปัญหาสำคัญที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ก็คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลก เนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหาร และข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น เช่น การเดินเรือไปติดในบริเวณที่ไม่มีลมพัด ถึงแม้ว่าโคลัมบัสนั้นไม่ได้เป็นบุคคลแรกที่เดินทางมาถึงอเมริกา แต่ก็เป็นจุดเริ่มของการติดต่ออย่างถาวรระหว่างโลกใหม่ (ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก) และ โลกเก่า (ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก)
 
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

โทมัส อัลวา เอดิสัน เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน
และยังมีบุคคลอีกมากมายที่สร้างและค้นพบความรู้ใหม่ๆจากการจินตนาการ ค้นคว้า สำรวจจากจุดประกายเล็กที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ต้องมวลชนอย่างมากจากอดีตจนปัจจุบัน


อาจจะเคยเห็นถ้อยคำที่กล่าวกันไว้ว่า    จินตนาการสำคัญกว่าความรู้